วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
  คอมพิวเตอร์   หมายถึง  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยชุดคำสั่ง  หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกับเครื่อข่ายได้หลายแบบ  ลักษณะคอมพิวเตอร์คือ มีศักยภาพสูงในการและเสียงประมวลผลข้อมูลเป็นตัวเลข  รูปภาพ  ตัวอักษร  และเสียง
                      ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
             คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
             หมายถึง  ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์  แบ่งเป็น 5 ส่วนคือ
·       ส่วนที่ 1 หน่วยรับข้อมูลเข้า ( Input   Unit )
              เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ  ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ  เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ  ได้แก่
              -แป้นอักขระ ( Keyboard )
              - แผ่นซีดี ( CD-Rom )
              -ไมโครโฟน  ( Microphon )   เป็นต้น
·      ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผลกลาง ( Central   Processing  Unit )
                หรือที่เราเรียกกันว่า   CPU  ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์  รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
·       ส่วนที่ หน่วยความจำ ( Memory  Unit )
                ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง  และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
·       ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล  (Output  Unit )
               ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวณผล  หรือผ่านการคำนวณแล้ว
·       ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ( Peripheral  Equipment )
               เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น  เช่น  โมเด็ม ( modem ) แผงวงจรเชื่อมต่อเครื่อข่าย  เป็นต้น
 
                             ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.             มีความเร็วในการทำงานสูง  สามารถประมวลผลได้เพียงชั่ววินาที   จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2.             มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง  ทำงานได้ 24 ชั่วโมงใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.             มีความถูกต้องแม้นยำ  ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.             เก็บข้อมูลได้มาก  ไม่เปลืองเนื้อที่เอกสาร
5.             สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง  ผ่านระบบเครื่อข่ายได้อย่างรวดเร็ว  ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
                    ระบบคอมพิวเตอร์
   หมายถึง  กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด  เช่น  ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนราฎร์  ระบบทะเบียนการค้า  ระบบเวช  ระเบียนของโรงพยาบาล  เป็นต้น
         การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบประมวณลของข้อมูลคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                   องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
                  มี 4  ส่วน  ดังนี้
1.     
   1.  ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )  หรือส่วนเครื่อง
   2.  ซอฟแวร์  ( Software )  หรือส่วนชุดคำสั่ง
   3.  ข้อมูล ( Data )
   4.  บุคลากร ( People )
                       ฮาร์ดแวร์  ( hardware )
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่สัมผัสได้จับต้องได้  ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ
  1.  ส่วนประมวลผล ( Processor )
  2.  ส่วนความจำ ( Memoyr )
  3.  อุปรณ์รับเข้าและส่งออก ( Input – Output  Devlces )
  4.  อุปรณ์หน่วยเก็บข้อมูล ( Sto )
 
                   ส่วนที่  1 CPU
CPU   เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เปรียบเสมือนเสมอ หน้าที่ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์   ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูลโดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ได้    ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะ เรียกว่า สัญญาณ 1  วินาทีมีหน่วยเป็นเฮิร์ตซ์  Hertz  เช่น สัญญาณความเร็ว  1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วนาฬิกา  1  จิกเฮิร์ต 1 GHz
                ส่วนที่ 1 หน่วยความจำ  Memory
                จำแนกเป็น  3  ประเภท   ดังนี้
     1.  หน่วยความจำหลัก ( Main  Memory )
     2.  หน่วยความจำรอง  ( Secondary Storage )
     3.  หน่วยเก็บข้อมูล
                          1. หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบ แรม( RAM ) และหน่วยความจำแบบ รอม ( ROM )
                             1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม
RAM=Random Aecess Memory เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล   ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน   เราเรียกความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลื่อนได้    Volatile   Memory
                             1.2 หน่วยความจำรอม “ รอม ( ROM.Read only Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลบนฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เราเก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า  หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน
( Nonvolatile   Memory )
                       2. หน่วยความจำสำรอง
มีไว้สำหรับสำรองหรือทำงานเก็บข้อมูลและโปรแกรมเนื่องจากความจำหลักมีจำกัด  ความจำสำรองสามารถสามารถเก็บได้หลายแบบ  เช่น แผ่นบันทึก ( Floppy  Disk )
จานบันทึกแบบแข็ง ( Hard  Disk ) แผ่นซีดีรอม ( CD-ROM )จานแสงแม่เหล็ก

หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Memory Unit )   
                     เก็บความจำสำรอง  หรือหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เป็นหน่วยเก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
                หน่วยความจำสำรองมีหน้าที่หลักคือ
 1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใชในอนาคต
 2. ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
 3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่ง
                ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
                   หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ไขปัญหาการสูญเสียของข้อมูล  อันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล  เมื่อเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม  หากปิดเครื่องหรือมีปํญหาทางไฟฟ้า  อาจทำให้คอมพิวเตอร์สูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรอง  เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป  หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบสื่อที่ใช้การบันทึกข้อมูลภายนอก  เช่น  ฮาร์ดดิสก์  แผ่นบันทึก  ซิปดิสก์  ซีดีรอม  ดีวีดี  เทปแม่เหล็ก  หน่วยความจำแบบแฟลช  หน่วยความจำสำรองนี้ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แต่เครื่องคอมพวเตอร์ก็สามารถทำงานได้
              ส่วนแสดงผลข้อมูล
                 คือ  ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้  อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่  จอภาพ  ( Monitor ) เครื่องพิมพ์ ( Printer )  เครื่องพิมพ์ภาพ ( Ploter ) และลำโพง ( Speaker ) เป็นต้น
            บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ ( PEOPLEWARE )
                 หมายถึง  คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นอาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว  หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิเตอร์
                ประเภทของบุคลากร ( Peopleware )
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
             บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์  ( EDP Manager )
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน  ( System  Analast  หรือ  SA )
3. โปรแกรมเมอร์  ( Progarmmer )
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  ( Computer  Operrator )
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล ( Data Entry Opertor )
         - นักวิเคราะห์ระบบงาน ทำการศึกษาระบบงานเดิม  ออกแบบระบบงานใหม่
         -โปรแกรมเมอร์ นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างป็นโปรแกรม
          -วิศกรระบบ  ทำหน้าที่ในการออกแบบ  สร้าง ซ่อมบำรุงและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์
         -พนักงานปฏิบัติการ  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจประจำวัน
·       อาจแบ่งคอมพิวเตอร์ได้ 4 ระดับ  ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ  (System  Manager)   คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2. นักวิเคราะห์ระบบ ( System  analyst)  คือ       ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ให้เหมาะสม
3. โปรแกรมเมอร์  (Progarmmer ) คือ ผู้เขีนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้
4. ผู้ใช้  (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป  ซึ้งต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม  เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
                   
                          ซอฟต์แวร์ ( Software )
             คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทำหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร  เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันใช้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ  เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง  จัดเก็บ  และนำมาใช้งานหรือเผยแพร่ได้ด้วยสื่อหลายๆชนิด  เข่น แผ่นบันทึก  แผ่นซีดี  แฟล็ชไดร์ฟ  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น
                    หน้าที่ของซอฟต์แวร์
           ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์  ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย  ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็นหลายประเภท
                 ประเภทของซอฟต์แวร์
·       แบ่งได้  3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
           - ซอฟต์แวร์ระบบ  ( System  Software )
          - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application  Software )
          และซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
1 .ซอฟต์แวร์ระบบ ( System  Software )
    เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการเก็บระบบ  หน้าที่การทำงาน  คือ  ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ
    หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ
1. ใช้ในการจัดการหน่ยรับเข้าและหน่วยส่งออก  เช่น  รับรู้การกดแป้นต่างๆบนแผงแป้นอักขระ
2. ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ  เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก
3. ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง
     ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
แบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
1. ระบบปฏิบัติการ ( Operating )
2. ตัวแปลภาษา
   1.ระบบปฏิบัติการ  หรือเรียกย่อๆว่า  โอเอส ( Operating  System : OS  ) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์  ประกอบด้วย
            1.1 ดอส
            1.2 วินโดวส์ ( Windows )
                 พัฒนาต่อจากดอสโดยสั่งงานจากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียว
            1.3 ยูนิกส์ ( Unix )
                  พัฒนามาตั้งแต่ครั้งที่ใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์  เป็นเทคโนโลยีแบบปิด
          1.4 ลีนุกซ์ ( Linux )
                พัฒนาการมาจากยูนิกส์สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล  เช่น อินเทล
         1.5 แมคอินทอ  ( Macintosh )  
               เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
               ชนิดของระบบปฏิบัติการ  จำแนกได้เป็น  3  ชนิดด้วยกัน  คือ
     1. ประเภทใช้งานเดี่ยว  (Single – tasking)  ประเภทนี้จะกำหนดใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ครั้งละหนึ่งงาน
     2. ประเภทใช้หลายงาน ( Multi – tasking ) สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันหลายงานในขณะเดียวกัน  ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน  เช่น  ระบบปฏิบัติการ  Windows  9 8 ขึ้นไป  และ UNIX  เป็นต้น
    3. ประเภทใช้งานหลายคน ( Multi – user ) ในหน่วยงานบางแห่งอาจต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล  จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง
 2. ตัวแปลภาษา

การพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องอาศัยซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ่งสร้างขึ้นให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจได้เพื่อสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
  ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา ซึ่งได้แก่ ภาษา Basic , Pascal , C และภาษาโลโก้เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ทึ่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกได้แก่ Fortran Cobol และภาษา อาร์ฟีจี
 2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนอ การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ หรือการออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น
 ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น 2 ประเภท
1. ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ Proprietary  Software
2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป Packaged Software มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ Customized Package และ โปรแกรมมาตรฐาน Standard  Package
แบ่งตามกลุ่มการใช้งาน จำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ
1. กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business
2. กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิก และ มัลติมีเดีย Graphic and Multimedia
3 กลุ่มใช้งานบนเว็บ Web and Communications
 กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ Business
    ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การจัดพิมพ์ รายงานเอกสาร นำเสนอผลงานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น- โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word Sun Star office Writer
- โปรแกรมตารางคำนวณ อาทิ  Microsoft Excel , Sun Star office Cale
 -โปรแกรมนำเสนอผลงาน อาทิ Microsoft Power Point Sun Star office Impress
  กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิก และ มัลติมีเดีย Graphic and Multimedia
  ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดียเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหวและการสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
-โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
-โปรแกรมตกแต่งภาพ อาทิ CorelDraw , Adobe Photoshop
-โปรแกรมตัดต่อวิดีโอและเสียง อาทิ Adobe premiere , Pinnacle Studio DV
-โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Author ware , Tool book  Instructor , Adobe Director
-โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adobe Flash , Adobe Dreamweaver
 กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
   เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กกลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานเฉพาะเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเช็ดอีเมล์ การท่องเว็บไซค์ การจัดการดูแลเว็บ การจัดการดูแลเว็บ ตัวอย่างโปรแกรมในกลุ่มนี้ได้แก่
   -โปรแกรมจัดการอีเมล์ อาทิ Microsoft outlook , Mozzila Thunderbird
- โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer , Mozzila Firefox
-โปรแกรมประชุมทางไกล Video conference อาทิ  Microsoft Net meeting
-โปรแกรมส่งข้อความด่วน Instant Messaging อาทิ MSN Messenger / Window Messenger , ICQ
-โปรแกรมสนทนาบนอินเตอร์เน็ต อาทิ PIRCH , MIRCH
ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
  การใช้ภาษาคล่องนี้แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษรเป็นประโยคข้อความภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่าภาษา คอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยูมากมายบางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้ส่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
  ความจำเป็นของการใช้ซอฟต์แวร์
    การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมากเพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร
 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
     เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบที่บอกสิ่ง ที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เรียกว่าภาษาคอมพิวเตอร์
  ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วยภาษาเครื่อง Machine Languages  เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แมนตัวเลข 0 และ 1 ได้ผู้ออกแบบทางคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้ส่งงานคอมพิวเตอร์มากกว่าภาษาเครื่อง
   ภาษาแอสเซมบลี Assembly Languages
        เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่องและภาษาแอสเซมบลีช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์  ภาษาแอสเซมบลีก็ยังคงมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มากและจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษา
ภาษาระดับสูง High – Level Languages 
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statement ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษ ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียนรู้และสามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายขึ้น
ภาษาระดับสูงมีอยู่ 2 ชนิด คือ
 คอมไพเลอร์ Compiler และ อินเทอร์พรีเตอร์ Interpreter
 - คอมไพเลอร์ จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อนแล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
  - อินเทอร์พรีเตอร์  จะทำการแปลที่ละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป
ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่แปลโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง